วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดอกเข็ม



ดอกเข็ม


ชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora chinensis Lamk. Ixora spp.
ชื่อวงศ์RUBIACEAE
ลักษณะทั่วไปทางพันธุศาสตร์เข็ม
ต้นเข็ม เดิมเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาใต้ จัดว่าเป็นไม้พุ่ม ซึ่งมีความสูง 1-3 เมตร  เข็มหอม หรือเข็มขาวมีสำต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งใกล้ผิวดินจำนวนมาก เราจึงพบว่าเข็มหอมมักอยู่กันเป็นพุ่มแน่น โดยแต่ละต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 1-2 เซนติเมตรเปลือกสีดำหรือม่วงเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีแกมขอบขนาน เรียงตรงข้าม หน้าใบมัน สีเขียวเข้ม หลังใบสีอ่อนกว่าและเห็นเส้นใบชัดเจน ในส่วนของช่อดอก จะมีสีขาว ออกที่ปลายยอด มีเส้นผ่าศูนย์กลางช่อดอก 8-18 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก  ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีเขียวรูปถ้วย ปลายแยกเป็นกลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ยาว 2.5-3 เซนติเมตรปลายหลอดมีกลีบแยกจากกันเป็น 4 กลีบ แต่ละกลีบรูปไข่กว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาว 0.6 เซนติเมตร เมื่อดอกบานมีเส้น   ผ่าศูนย์กลาง 1.2-2 เซนติเมตร ดอกย่อยภายในช่อดอกเดียวกันบานในเวลาใกล้เคียงกัน ดอกที่บานใหม่ ๆ จะมีสีขาว บริสุทธิ์ เมื่อใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ดอกมีกลิ่นหอม และออกดอกตลอดปี 
การปลูกและขยายพันธุ์เข็ม
                ขยายพันธุ์ได้หลายวิธี   เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง  ออกรากได้ง่าย ปลูกเลี้ยงและบำรุงรักษาง่าย ทนทาน มีอายุยืนนานหลายปี ชอบดินที่มีความชื้นสูงและชอบแดดจัด ต้นที่ปลูกในที่มีแสงน้อยหรือได้รับร่มเงาของต้นไม้อื่น จะมีกิ่งยืดยาวและไม่ค่อยออกดอก
 ถิ่นกำเนิด :  เป็นพันธุ์ไม้หอมพื้นเมืองแถบอเมริกาใต้
ลักษณะทั่วไป
ต้นเข็มเป็นพรรณไม้ยืนต้นมีพุ่มขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางขนาดลำต้นมีความสูงประมาณ3-5 เมตรลำต้นเป็นต้นเดี่ยวหรือแตกกอแผ่สาขาออกไปเป็นต้นต้นเล็กกลมขนาดเส้นรอบวงประมาณ 4-10 เซนติเมตรลำต้นเรียบสีน้ำตาลกิ่งยอดมีสีเขียวแตกกิ่งตรงขึ้นด้านบน ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่สลับกันรอบต้นและกิ่ง ใบแข็งเปราะมีสีเขียวสด โคนใบมนปลายใบแหลม ลักษณะใบมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ออกดอกเป็นช่อออกตรงส่วนยอดซึ่งมีก้านดอกชูไว้ภายในช่อประกอบด้วยดอกเล็กๆลักษณะ
เป็นหลอดเล็ก ๆ ซึ่งมีกลีบอยู่ส่วนบน ประมาณ 4-5 กลีบ กลีบเล็กแหลม ลักษณะดอกและสีสันแตกต่างกันไป
ต้น  เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดย่อม ลำต้นสูงประมาณ 3–5 ฟุต จะแตกกิ่งก้านสาขาออกแผ่เป็นพุ่ม ลำต้นเป็นต้นเดี่ยวหรือแตกกอแผ่สาขาออกไปเป็นต้นต้นเล็กกลมขนาดเส้นรอบวงประมาณ 4-10 เซนติเมตรลำต้นเรียบสีน้ำตาลกิ่งยอดมีสีเขียวแตกกิ่งตรงขึ้นด้านบน
ใบ  ใบของดอกเข็มแข็ง และเปราะง่าย มีสีเขียวสด ลักษณะใบมนรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบจะออกเรียงสลับกันคนละทิศทาง ลักษณะใบมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์
 ดอก  ดอกออกเป็นช่อใหญ่ จะออกตรงส่วนยอดของต้น ในแต่ละช่อจะประกอบด้วยดอกขนาดเล็กเป็นหลอด ตรงปลายหลอดจะเป็นกลีบซึ่งมีอยู่ 4-5 กลีบ ปลายกลีบแหลม ลักษณะดอกและสีสรรแตกต่างกันไป
 ฝัก/ผล  เป็นผลกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ 
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
เวลาที่ดอกหอม : หอมตลอดวัน
                การปลูก:
    -    การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน
    -    การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนนิยมปลูกเป็นกลุ่มตกแต่งสวนบริเวณบ้านหรือปลูกเป็นแนวรั้วก็ได้ สามารถตัดแต่ง และบังคับรูปทรงได้ตามความเหมาะสม และความต้องการของผู้ปลูก
การดูแลรักษา:  ชอบอยู่กลางแจ้ง ขึ้นได้กับดินทุกชนิดแต่จะชอบดินที่ร่วนซุยมากกว่า มีความชุ่มชื้นพอดี ทนทานต่อความแห้งแล้ง
การขยายพันธุ์:  ปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด กิ่งตอน
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
 การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
                 เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเข็มไว้ ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพือเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอก ให้ปลูกในวันพุธ
การขยายพันธุ์ :  
                การตอน ใช้เวลาในการตอน ประมาณ 30 วัน ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมน
                การขุดต้นอ่อน ที่แตกขึ้นมาใหม่บริเวณโคนต้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่าย (พบในต้นที่ปลูกลงพื้นที่แล้วอย่างน้อย 2 - 3 ปีขึ้นไป
ข้อดีของพันธุ์ไม้ :             
                ดอกทยอยบาน ออกดอกตลอดปี
                การปลูกและดูแลรักษาง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม  
                หาง่าย ราคาต้นพันธุ์ถูก
 ข้อแนะนำ :         
            ควรมีการตัดแต่งกิ่งขนาดเล็กๆ ออกบ้างโดยเฉพาะกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่ม เมื่อดอกโรยควรทำการตัดแต่งช่อดอกแห้งทิ้ง จะช่วยให้มีการแตกยอดใหม่และออกดอกใหม่เร็วขึ้น
             หากต้องการให้มีดอกขนาดใหญ่ นอกจากให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอแล้ว การตัดแต่งให้มีจำนวนกิ่งที่เหมาะสม จะช่วยให้ดอกมีขนาดใหญ่ตามอายุและความสามารถทางพันธุกรรมได้ดีขึ้น
             เข็มขาวเป็นพันธุ์ไม้หอมที่ชอบแดดจัดเต็มวัน จึงควรปลูกกลางแจ้งจะทำให้ออกดอกขนาดใหญ่ ลำต้นเตี้ย การปลูกในพื้นที่ที่มีแสงแดดรำไรจะทำให้ไม่ค่อยออกดอก ต้นสูงชลูดและไม่แข็งแรง
ข้อมูลอื่นๆ :
             ในทรรศนะของผู้รวบรวม เข็มขาวเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความคุ้มค่าทั้งในด้านการปลูกและดูแลรักษา การออกดอก ความหอม สามารถเรียกได้ว่า สวย ทน ถูก  
สรรพคุณ
            ดอกเข็มขาว เป็นต้นไม้พุ่ม ใช้ดอกใส่พานบูชาพระ ให้ประโยชน์ในทางยา รากมีรสหวาน รับประทานแก้โรคตา เจริญอาหาร สามารถฆ่าพยาธิ แก้ตาแดง แก้ริดสีดวงงอกในจมูก
สรรพคุณทางยา:
    -    รากมีรสหวานใช้รับประทานแก้โรคตา เจริญอาหาร
    -    ใบใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ
    -    ดอกแก้โรคตาแดง ตาแฉะ
    -    ผลแก้โรคริดสีดวงในจมูก
การเป็นมงคล
            คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกเข็มไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีความฉลาดเฉียบแหลม เพราะเข็มคือสิ่งที่มีความแหลมคม ดังนั้นคนไทยโบรานจึงใช้ดอกเข็มในพิธีไหว้ครูเพื่อจะได้เป็นนักปราชญ์ที่มีสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลมนอกจากนี้ยังใช้ดอกเข็มเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งนัก

การศึกษาโครงสร้างภายนอก และโครงสร้างภายในของต้นดอกเข็ม
โครงสร้างภายนอกของใบ

- ภาพหน้าใบ


รูป 1  ภาพแสดงโครงสร้างหน้าใบของต้นดอกเข็ม

- ภาพหลังใบ

รูป 2ภาพแสดงโครงสร้างหลังใบของต้นดอกเข็ม

ลักษณะโครงสร้างของใบ
           ใบ เป็นใบเลียงคู่ จะแข็ง และเปราะง่าย มีสีเขียวสด ลักษณะใบมนรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบจะออกเรียงสลับกันคนละทิศทางดอก  ลักษณะดอกมีสีแดง ดอกออกเป็นช่อใหญ่ จะออกตรงส่วนยอดของต้น ในแต่ละช่อจะประกอบด้วยดอกขนาดเล็กเป็นหลอด ตรงปลายหลอดจะเป็นกลีบซึ่งมีอยู่ 4-5 กลีบ ปลายกลีบแหลม

 โครงสร้างภายในของใบ

รูปที่ 3  ภาพแสดงลักษณะภายในใบของต้นดอกเข็ม

จากภาพ โครงสร้างภายในของใบ จากการตัดตามขวางใบของต้นเข็ม  มีรายละเอียดดังนี้
1. Epidermis
 - ผิวชั้นนอกสุด มีทั้งด้านบนและด้านล่าง (Upper & Lower Epidermis)มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์คุม และขน
 - มี Cutin เคลือบ ป้องกันการระเหยของน้ำ
2. Spongy mesophyll ติดกับ Epidermis ด้านล่าง เซลล์รูปร่างค่อนข้างกลม เรียงตัวหลวมๆ ไม่เป็นระเบียบ มีช่องว่างระหว่างเซลล์ ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์ไม่หนาแน่น  ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เซลล์ชั้น Mesophyll ไม่แบ่งเป็นชั้น Palisade mesophyll และ Spongy mesophyll และมัดท่อลำเลียงพบอยู่ทั่วไป โดย Xylem อยู่ทางด้านบน Phloem พบทางด้านล่างของแผ่นใบ
3. Palisade mesophyll  ติดกับ Epidermis ด้านบน เซลล์รูปร่างยาวเรียงตัวแนวตั้งฉากกับ Epidermis ไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์จำนวนมาก
4. VASCULAR BUNDLE คือชั้นของเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มๆ คือเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ(XYLEM)และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร(PHLOEM)

โครงสร้างภายนอกลำต้นของดอกเข็ม

รูปที่ ภาพแสดงลักษณะลำต้นภายนอกของต้นเข็ม
ลักษณะโครงสร้างภายนอกของลำต้น
                ลำต้นมีขนาดเล็กถึงขนาดย่อม ลำต้นสูงประมาณ 3–5 ฟุต จะแตกกิ่งก้านสาขาออกแผ่เป็นพุ่ม ลำต้เป็นต้นเดี่ยวหรือแตกกอแผ่สาขาออกไปเป็นต้นต้นเล็กกลมขนาดเส้นรอบวงประมาณ 4-10 เซนติเมตรลำต้นเรียบสีน้ำตาลกิ่งยอดมีสีเขียวแตกกิ่งตรงขึ้นด้านบน

 โครงสร้างภายในลำต้นของดอกเข็ม

รูปที่ ภาพแสดงลักษณะภายในของลำต้นเข็ม
ลักษณะโครงสร้างภายในของลำต้น
ชั้นของเนื้อเยื่อลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่เรียงตัวจากภายนอกเข้าสู่ภายในตามลำดับดังต่อไปนี้
1. EPIDERMIS เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวกันชั้นเดียว มีผนังบาง ไม่มีคลอโรพลาสต์
2. CORTEX อยู่ใต้ชั้น EPIDERMIS เป็นชั้นที่มีคลอโรพลาสต์อยู่
3. STELE ประกอบด้วย  VASCULAR BUNDLE คือชั้นของเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มๆ คือเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ ( XYLEM ) และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร ( PHLOEM )
โครงสร้างภายนอกรากของดอกเข็ม

รูปที่  5  ภาพแสดงลักษณะภายนอกรากของต้นดอกเข็ม
ลักษณะโครงสร้างภายนอกของราก
             ราก  มีลักษณะตอนโคนจะโตแล้วค่อยเรียวเล็กลงไปจนถึงปลายจะยาวและใหญ่กว่ารากอื่นๆที่แยกออกไป และจะมีรากแขนงแตกออกมาจากรากแก้วแตกแขนงออกเป็นทอดๆได้อีกเรื่อยๆเป็นจำนวนมาก

โครงสร้างภายในรากของดอกเข็ม

รูปที่  6   ภาพแสดงลักษณะภายในรากของต้นดอกเข็ม 
รากมีโครงสร้างเรียงลำดับจากภายนอกสู่ภายในดังนี้
1.EPIDERMIS มีลักษณะเหมือนเอพิเดอร์มิสของลำต้นแต่จะมีบางเซลล์ยื่นออกไปเป็นขนราก ( ROOT HAIR )
2.CORTEX ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารและน้ำ คอร์เทกซ์ของรากจะกว้างกว่าลำต้น
3.STELE เป็นชั้นที่อยู่ถัด ENDODERMIS ประกอบด้วย

     3.1 PERICYCLE ส่วนใหญ่เรียงตัวแถวเดียว หรือ สองแถวเป็นแหล่งทีเกิดของรากแขนง

     3.2 VASCULAR BUNDLE คือกลุ่มของท่อน้ำท่ออาหารจะอยู่ภายในวงล้อมของ PERICYCLE



Lower Stomata and  Upper Stomata

รูปที่  7    Upper Stomata

 Upper  stomata   
        เป็นเซลล์ผิที่อยู่ด้านบนของเอพิเดอร์มิส   มีลักษณะการเรียงตัวของเซลล์ไม่เป็นระเบียบ  ซึ่งเป็นเซลล์ผิวที่มีเซลล์ปากใบน้อยกว่าด้านล่าง  เนื่องจากด้านบนได้รับแดนมากเกินไปจะทำให้เซลล์ปากใบขาดความชื่น


รูปที่  8    lower  Stomata

Lower  Stomata

          เป็นเซลล์ผิวที่อยู่ด้านล่างของเอพิเดอร์มิส มีลักษณะการเรียงตัวของเซลล์ไม่เป็นระเบียบ  ซึ่งเป็นเซลล์ผิวที่มีเซลล์ปากใบมาก  เนื่องจากปากใบต้องการความชื่นตลอดเวลา จึงมีปากใบอยู่ด้านล่างใบมากกว่าด้านบนเพื่อที่จะไม่โดนแดนและยังรักษาความชื่นได้ตลอดเวลาด้วย

ปากใบและการคายน้ำของพืช
        ในบางครั้งที่อากาศมีความชื้นสัมพันธ์สูง น้ำจะระเหยเป็นไอสู่บรรยากาศได้น้อยลง ทำให้การคายน้ำลดลง แต่แรงดันน้ำในต้นพืชยังสูงอยู่ จึงสามารถพบหยดน้ำที่บริเวณกลุ่มรูเปิดที่ผิวใบซึ่งเรียกว่า ไฮดาโทด (hydathode)มักพบอยู่ใกล้ปลายใบหรือขอบใบตรงตำแหน่งของปลายท่อลำเลียง การคายน้ำในลักษณะนี้เรียกว่า กัตเตชัน (guttation) ทำให้พืชสามารถดูดน้ำทางรากเข้าไปใช้ได้ พบทั้งในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่
          พืชนอกจากจะสูญเสียน้ำโดยการระเหยเป็นไอออกมาทางปากใบแล้วพืชยังสามารถสูญเสียน้ำเป็นไอน้ำออกมาทางเลนทิเซล (lenticle) ซึ่งเป็นรอยแตกที่ผิวของลำต้นได้อีกด้วย
                ปากใบเปิดเมื่อเซลล์คุมเต่งและปิดเมื่อเซลล์คุมสูญเสียความเต่งเซลล์คุมเต่งจะสูญเสียความเต่งได้โดยที่  ความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์กำหนดความเต่งของเซลล์คุม เมื่อมีแสงปริมาณโพแทสเซียมไอออนในเซลล์คุมเพิ่มขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายเพิ่มขึ้น น้ำจากเซลล์ข้างเคียงจึงแพร่เข้าสู่เซลล์คุม ทำให้เซลล์เต่งมากขึ้นและเปลี่ยนรูปไปทำให้ปากใบเปิด ในทางตรงกันข้ามการลดปริมาณโพแทสเซียมไอออนในเซลล์คุม ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์คุมลดลง น้ำจะแพร่ออกจากเซลล์คุมทำให้เซลล์คุมเปลี่ยนรูปไปเป็นผลให้ปากใบปิด

ปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำ
อุณหภูมิ
          ขณะที่ปากใบเปิดถ้าอุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น อากาศจะแห้ง น้ำจะแพร่ออกจากปากใบมากขึ้น ทำให้พืชขาดน้ำมากขึ้น
ความชื้น
               ถ้าความชื้นในอากาศลดลงปริมาณน้ำในใบและในอากาศแตกต่างกันมากขึ้นจึงทำให้ไอน้ำแพร่ออกจากปากใบมากขึ้น เกิดการคายน้ำเพิ่มมากขึ้น
ลม
               ลมที่พัดผ่านใบไม้จะทำให้ความกดอากาศที่บริเวณผิวใบลดลงไอน้ำบริเวณปากใบจะแพร่ออกสู่อากาศได้มากขึ้น และขณะที่ลมเคลื่อนผ่านผิวใบจะนำความชื้นไปกับอากาศด้วย ไอน้ำจากปากใบก็จะแพร่ได้มากขึ้นเช่นกัน แต่ถ้าลมพัดแรงเกินไปปากใบก็จะปิด

 สภาพน้ำในดิน
                การเปิดปิดของปากใบมีความสัมพันธ์กับสภาพของน้ำในดินมากกว่าสภาพของน้ำในใบพืช เมื่อดินมีน้ำน้อยลงและพืชเริ่มขาดแคลนน้ำ พืชจะสังเคราะห์กรดแอบไซซิก (abscisic acid) หรือ ABA มีผลทำให้ปากใบปิดการคายน้ำจึงลดลง
ความเข้มของแสง
                ขณะที่พืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอปากใบจะเปิดมากเมื่อความเข้มแสงสูงขึ้นและปากใบจะเปิดน้อยลงเมื่อความเข้มของแสงลดลงเนื่องจากความเข้มของแสงเกี่ยวข้องกับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์  น้ำตาล  ไอออน และสารอินทรีย์บางชนิดที่อยู่ในเซลล์คุม  ดังนั้นเมื่อความเข้มข้นของแสงมากขึ้น จะเป็นผลให้การคายน้ำในใบมาก แต่ในบางกรณีถึงแม้ความเข้มของแสงมากแต่น้ำในดินน้อย พืชเริ่มขาดน้ำปากใบจะปิด
          โดยทั่วไปปากใบพืชจะเปิดในเวลากลางวันเพื่อนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงและปิดในเวลากลางคืนแต่พืชอวบน้ำเช่นกระบองเพชรที่เจริญในที่แห้งแล้งปากใบจะเปิดในเวลากลางคืนและปิดในเวลากลางวันเพื่อลดการสูญเสียน้ำในเวลากลางคืนพืชตระกูลนี้จะตรึงคาร์บอนไดออกไซด์แล้วเปลี่ยนเป็นกรดอินทรีย์เก็บสะสมไว้ในแวคิลโอลในเวลากลางวันพืชจะนำคาร์บอนไดออกไซด์จากกรดอินทรีย์มาใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
                พืชบางชนิดยังมีการปรับโครงสร้างให้มีประสิทธิภาพในการดูดน้ำโดยมีรากแผ่ขยายเป็นบริเวณกว้างหรือมีรากหยั่งลึกลงไปในดิน เช่น หญ้าแฝก  พืชบางชนิดลำต้นและใบอวบน้ำเพื่อสะสมน้ำ มีขนปกคลุมปากใบจำนวนมาก มีคิวทินหนาที่ผิวใบ รูปร่างของใบมีขนาดเล็กลงหรือเปลี่ยนไปเป็นหนาม บางชนิดมีโครงสร้างที่ช่วยลดการคายน้ำ เช่น ปากใบอยู่ต่ำกว่าระดับผิวใบ เช่น ปากใบของต้นยี่โถ